วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

Future e-book


ปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตได้กลายปัจจัยที่ 6 เป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน ทั้ง Hardware และ Software ต่างมีการสังเกตได้จากการที่ทั้งหนังสือ นิตยสารทั้งหัวไทยและหัวนอกขายดิบขายดี เนื้อหาก็มีความหลากหลาย ทั้งเรื่องเบา-หนัก เรื่องสาระน้อย-สาระมาก ยิ่งเดี๋ยวนี้มีหนังสือรูปแบบใหม่ซึ่งมาในรูปไฟล์ดิจิตอลที่เราเรียกกันว่า E-book (Electronic book) ก็ยิ่งทำให้การเข้าถึงโลกของหนังสือนั้นได้ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้นไปอีก
E-book หรือหนังสือที่สามารถซื้อหาและดาวน์โหลดมาอ่านได้ผ่านอินเตอร์เน็ต ได้รับการบุกเบิกในต่างประเทศมาหลายปีแล้ว และสำหนับในประเทศไทยตลาดหนังสือดิจิตอลก็ค่อยๆกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆซึ่งในทางหนึ่งก็เป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับบรรดาผู้ปกครองที่เป็นกังวลว่า คอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตจะทำงานโอกาสและเวลาในการอ่านหนังสือของเด็กๆ เพราะมันได้กลายเป็นประตูบานสำคัญ ในการพาเด็กๆเข้าสู่โลกแห่งตัวหนังสือ ความรู้ความคิดอันหลากหลายกว้างไกล ไม่จำกัดอยู่แต่เพียงบนแผงหนังสือเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในต่างประเทศที่การคิดค้นและพัฒนาซอฟท์แวร์ในการสร้างและส่งผ่านหนังสือดิจิตอลทางอินเตอร์เน็ต (รวมทั้งการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ก้าวไปไกลแล้ว ผู้จัดจำหน่าย E-book ยี่ห้อต่างๆ ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งเป้าเอาดิบดีอยู่นั่นเอง ผิดพลาดกับตลาดเพลงแบบดิจิตอลในรูปแบบ MP3 ที่มาแรงแซงเพลงในรูปแบบเทปและซีดี จนหลายค่ายต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองมาเข้ากับระบบดิจิตอลอย่างเร่งด่วน ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆก็ยังลังเลอยู่ไม่น้อยที่จะเลือกซื้อหนังสือดิจิตอล ทั้งที่เวลาไปยืนอยู่หน้าแผงหนังสือเราสามารถตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มหนึ่งที่เราชอบได้อย่างรวดเร็ว แม้ราคาจะแพงกว่าในรูปแบบดิจิตอลพอสมควรก็ตาม คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ปัจจัยอะไรกันแน่ที่สกัดกั้นความสำเร็จของ E-book คำตอบของคำถามนี้ อาจจะหาได้จากการชั่งข้อดี-ข้อเสียของมัน เมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือแบบเล่มก็ได้
ตัวแทนคนรักหนังสือรูปแบบเดิม แฟรงคลิน พอล (Franklin Paul) ผู้ที่มีอาชีพเป็นช่างภาพและเป็นนักเขียนสารคดีท่องเที่ยวได้ให้ความเห็นไว้ตั้งแต่สองสามปีก่อนว่า เขาไม่เห็นด้วยเลยกับใครที่เชื่อว่า E-book จะมาตีตลาดหนังสือทั่วไปได้ เนื่องจาก “There is just something about reading long documents on paper which cannot be replicated” แปลได้ความว่า “มันมีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการอ่านหนังสือเรื่องยาวๆบนหน้ากระดาษ ซึ่งไม่อาจทดแทนได้ด้วยการอ่านจากหน้าจอ” บางอย่างที่ว่านั้น หลายคนอาจเดาว่าเป็นการที่เราสามารถจะ “พลิก” และ “คั่น” หน้ากระดาษด้วยมือของเราเวลาที่อ่านหนังสือ ในขณะที่เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้การนั่งจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ที่แสนจะสว่างและทำลายสายตาก็ไม่น่าพิสมัยนัก สำหรับคนที่สุขภาพตาไม่แข็งแรง
กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีเสียงบางคนอ้างถึงข้อดีของ E-book ที่ปฏิเสธไม่ได้นั่นก็คือ ความกะทัดรัด ง่ายต่อการเก็บรักษา และพกพานั่นเอง “As with digital music, multiple books-say, Shakesreare’s collected work- - can be stored on memory card the size of stick of gum, making them popular with travelers, students and professionals.” ก็คือ เหมือนกับดนตรีในรูปแบบดิจิตอลหนังสือจำนวนมากมายอย่างเช่น “รวมงานเขียนทุกชิ้นของเชคสเปียร์” สามารถรวมกันอยู่ภายในเมมโมรีการ์ดขนาดเท่ากับหมากฝรั่งชิ้นเดียวเท่านั้น สิ่งนี้ช่วยให้หนังสือดังกล่าวเป็นที่ฮอตฮิตในหมู่นักท่องเที่ยว นักเรียน และผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย
นอกจากนี้ยังมีข้อเด่น-ข้อด้อยอื่นๆ ของ E-book เมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือที่เป็นรูปเล่มอีกหลายข้อ ลองไปดูกันคะ เผื่อว่าจะช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อหนังสือให้เหมาะสมกับความต้องการ และพฤติกรรมการอ่านของทุกคนได้บ้างคะ

ข้อดี
1. อ่านในที่มืดได้
2. จัดหมวดหมู่ง่าย หาง่าย
3. ช่องทางเข้าถึงหนังสือกว้างขว้างมาก หลากหลายประเภท ตอบความต้องการของแต่ละบุคคลได้
4. ส่งต่อ, เผยแพร่ง่าย สะดวก ประหยัด
5. ดูตัวเอย่าง (บางส่วนหรือทั้งหมด) ได้ก่อนตัดสินใจซื้อ
ข้อเสีย
1. ต้องใช้ไฟ แบตเตอรี่
2. ต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีพอสมควร
3. เข้าถึงง่ายเกินไป จนควบคุมดูแลยาก และอาจส่งผลเสียหากขาดวิจารณญาณ
4. ควบคุมปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ได้ยาก
5. ไม่ได้เห็นรูปร่างหน้าตา และสัมผัสรูปเล่ม

อย่างที่เห็นนะคะว่า E-book มีข้อดีอยู่หลายอย่าง แต่ก็มีข้อเสียหลายประการเช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้หนังสือเป็นเล่มยังคงความนิยมตลอดกาล ซึ่งแม้แต่ E-book ที่ทั้งราคาถูกและสะดวกสบายก็ไม่สามารถสั่นคลอนบัลลังก์ได้ ก็คือเสน่ห์แห่ง “สัมผัส” ของหนังสือ ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและสร้างพื้นที่ส่วนตัวบางอย่างที่หน้าจอมอนิเตอร์ไม่อาจสร้างได้ นอกจากนี้มันยังมีมิติทางชนชั้นและทางวัฒนธรรม รวมไปถึงเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นไปของยุคสมัย หนังสือยิ่งเก่าเก็บ ยับเยิน ยิ่งบ่งบอกถึงคุณค่า รวมถึงความผูกพันที่เจ้าของและหนังสือมีให้แก่กัน หนังสือที่มีน้อยหรือถูกห้ามในอดีตก็บ่งบอกบริบททางสังคมบางอย่างที่เนื้อหาของมัน (ที่เราสามารถหาอ่านได้จากอินเตอร์เน็ต) ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างครบถ้วน
อย่างไรก็ตามเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทั้งหนังสือทั่วไปและหนังสือดิจิตอล ก็เกื้อหนุนกันอยู่แล้ว หนังสือบางเล่มในปัจจุบันนี้ ก็ก่อสร้างตัวมาจากอินเตอร์เน็ตถูกอ่าน เผยแพร่ วิพากษ์วิจารณ์ จนกระทั่งเป็นที่นิยม และได้รับการพิมพ์ออกมาให้เป็นรูปเล่มให้คนรักหนังสือได้ซื้อเก็บในทางกลับกัน หนังสือหลายเล่มเปลี่ยนสถานะกลายเป็นหนังสือคลาสสิค หายาก และผู้คนก็อาจจะไม่มีโอกาสได้อ่าน หากมันไม่ได้รับการแปลงไปอยู่ในรูปของไฟล์ดิจิตอล ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าหนังสือทั้งสองชนิดแท้จริงแล้วทำงานงานร่วมกันเป็นกระบวนการโดยการสร้างโอกาส และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคนั่นเองคะ

นางสาวดวงใจ ดอกจันทร์

รหัส4819104

ไม่มีความคิดเห็น: